วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย   การวัดอัตราการคายน้ำในรอบหนึ่งวัน
ผู้จัดทำ  นางสาวศันศนีย์ สิทธิจันทร์ และนางสาวเบญจวรรณ ปราบเภท
บทคัดย่อ
ในงานวิจัยเรื่องการคายน้ำาของพืชได้ศึกษาต้นชบาด้วยการกำหนดใบชบาแล้วใช้หนังยางผูกรวบปากถุงพลาสติกบริเวณโคนกิ่งให้แน่ทิ้งไว้ประมาณ  2 ชั่วโมงแล้วสังเกตุผลโดยการแบ่งเป็น 3 ช่วง(05.00-07.00น.) (10.00-12.00.) (15.00-17.00 น.)โดยจะสังเกตผลจากปริมาณการคายน้ำของใบชบาซึ่งจะมีไอน้ำเกาะบริเวณถุงพลาสติกว่าช่วงเวลาใดที่มีปริมาณอัตราการคายน้ำมากที่สุดโดยการคายน้ำของใบชบาในแต่ละช่วงเวลาก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำของพืช ดังนี้
 1.ถ้ามีความเข้มของแสงมากใบชบาจะมีการสังเคราะห์แสงบริเวณปากใบก็จะเปิดกว้างทำให้ใบชบาคายน้ำได้ดี
2. อุณหภูมิสูงใบชบาจะคายน้ำออกมามากเพื่อระบายความร้อนออกจากต้นชบา
 3. ความกดอากาศที่มีความกดดันต่ำความหนาแน่นของอากาศจะน้อยน้ำจึงระเหยออกจากต้นชบาได้ง่าย
4.ความชื้นของอากาศถ้าในบรรยากาศมีความชื้นต่ำพืชจะมีอัตราการคายน้ำสูง
5. ลมจะช่วยพัดพาไอน้ำให้เคลื่อนที่ทำให้พืชคายบน้ำได้ดียิ่งขึ้น
จากการทดลองจะเห็นได้ว่ามีหยดน้ำเกิดขึ้นในถุงพลาสติกที่หุ้มใบชบาและช่วงเวลา                (10.00 - 12.00 น.)ใบชบาจะมีปริมาณการคายน้ำได้มากที่สุดเนื่องจากเป็นไปตามปัจจัยที่กล่าวไว้เบื้องต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น