วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภาพบรรยากาศห้องปฏิบัติการโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์


ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์



วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย   การศึกษาโครงสร้างของแมลงปอเข็ม
ผู้จัดทำ  นางสาวณัฐธิดา ขุมขำ
บทคัดย่อ
                จากการศึกษาโครงสร้างภายนอกของแมลงปอพบว่า ลักษณะภายนอกของแมลงอื่นๆ และสัตว์ที่มีลำตัวและขาเป็นข้อปล้อง (Arthropods) มีผนังของร่างกายเป็นส่วนที่แข็งที่ช่วยพยุงร่างกายอยู่ภายนอก (Exoskeleton) โครงสร้างของร่างกายของแมลงปอ แบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว อก และท้อง มีขา 3 คู่ และมีปีก 3 คู่ ติดอยู่ที่อก โดยทุกส่วนเป็นโครงสร้างภายนอกของแมลงปอที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน และโครงสร้างภายในของแมลงปอ จากการศึกษาโครงสร้างภายในด้วยแว่นขยายพบว่า มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ภายในส่วนของท้องมีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาวบาง ส่วนของท้องอาจขยายพองออก หรือบางส่วนอาจจะแบน ปล้องท้องที่เห็นได้ชัดเจนมีจำนวน 10 ปล้อง ปล้องท้องปล้องแรกที่ติดกับอกมีขนาดสั้นมาก ปล้องที่ 2 ยาวกว่าเล็กน้อย ล้องที่ 3 – 7 เป็นปล้องที่ยาวที่สุด ปล้องที่ 8 – 9 ค่อนข้างสั้น ปล้องที่ 10 สั้นและมีขนาดเล็ก ส่วนบน cerci or superior appendages 1 คู่ และมีแพนหางส่วนล่าง (inferior appendages) อวัยวะในการผสมพันธุ์ของตัวเมีย (genital organs) จะอยู่ที่ด้านล่างของปล้องท้องปล้องที่ 8 และ 9 แมลงปอเข็มส่วนมากจะมีอวัยวะวางไข่ที่สมบูรณ์                                                               

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย   การสำรวจแพลงก์ตอนในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดา
ผู้จัดทำ  นางสาวเสาวลักษณ์ แก้วชัด และนายทศพงศ์ ธรรมจารุวัฒน์
บทคัดย่อ
                แพลงก์ตอนเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ จะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหาร ในการสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอนในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดาของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดา ตรวจวัดคุณภาพน้ำในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดาจากแพลงก์ตอนที่สำรวจได้ และฝึกทักษะการใช้กล้องจุลทรรศน์ในการหาแพลงก์ตอน
                ในการสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอนในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดามีวิธีการ คือ เก็บตัวอย่างน้ำจากสระโดยกำหนดจุดต่างๆ ในรอบสระ 5 จุด (A, B, C, D, E) จากนั้นนำมาเทใส่บีกเกอร์ ใช้หลอดหยด หยดน้ำแต่ละจุดบนสไลด์ นำไปส่องดูกล้องจุลทรรศน์ที่กำลังขยาย 10X และ 40X
                ในการสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอน พบว่ามีแพลงก์ตอนทั้งหมด 2 ดิวิชั่น คือ Chlorophyta และ Cyanophyta โดยทั้งหมดเป็นแพลงก์ตอนพืชมี 6 ชนิด คือ Botryococcus, Haematococus, Phytoplankton, Eudorina, Pseudoanbaena และ Ceratium แพลงก์ตอนที่พบมากที่สุด คือ Haematococus และพบว่าแหล่งน้ำดังกล่าวจัดอยู่ในระดับคุณภาพดี เนื่องจากแพลงก์ตอนที่อาศัยอยู่นั้น ส่วนใหญ่เป็นแพลงก์ตอนที่อยู่ในน้ำสะอาด ในการสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอนในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดาครั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้พบแพลงก์ตอนจำนวนน้อย เนื่องจากการเก็บตัวอย่างน้ำได้ไม่ทั่วทั้งสระ อีกทั้งแหล่งน้ำนี้ยังเป็นแหล่งน้ำที่ปิดไม่มีการถ่ายเทของน้ำ สิ่งมีชีวิตจึงเข้ามาอาศัยได้น้อย และมีปลานิลที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาตร์

ชื่อวิจัย   การทดสอบวิตามินซีในผักและผลไม้
ผู้จัดทำ  นางสาวกมลทิพย์ อินทคีรี และนางสาวสุดารัตน์ คงเพชร
บทคัดย่อ
การทดสอบการหาค่าวิตามินซีแบบง่าย ๆ ได้โดยการหยดสารละลายไอโอดีนลงในน้ำแป้งสุก จะได้สารผสมสีน้ำเงิน แล้วหยดน้ำผักและผลไม้ที่ต้องการทดสอบหาวิตามินซีลงไป ถ้าสามารถทำให้สารสีน้ำเงินที่ผสมกับน้ำแป้งสุกจางหายไปได้รวดเร็ว จนไม่มีสารละลายผสมสีน้ำเงินอยู่เลยแสดงว่ามีวิตามินซีในผักและผลไม้ที่นำมาทดสอบ
จากการศึกษาและทดสอบพบว่าในน้ำผักคะน้าใช้จำนวนหยดน้อยที่สุดแสดงว่ามีวิตามินซีมากที่สุดรองลงมาคือใบชะมวงและแตงกวา ส่วนการทดสอบวิตามินซีในน้ำผลไม้พบว่าในน้ำแตงโมใช้จำนวนหยดน้อยที่สุดแสดงว่ามีวิตามินซีมากที่สุด รองลงมาคือชมพู่ ส่วนกล้วยไม่พบวิตามินซี ในผักและผลไม้ที่ผู้วิจัยนำมาทดสอบนั้นพบว่ามีวิตามินซีอยู่สูงมากคือผักคะน้าส่วนผักและผลไม้ที่พบวิตามินซีในปริมาณน้อยเนื่องจากมีสารอาหารจำพวกอื่นอยู่มากทั้งนี้เป็นข้อมูลหรือทางเลือกในการบริโภคแก่ผู้บริโภค

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย   การวัดอัตราการคายน้ำในรอบหนึ่งวัน
ผู้จัดทำ  นางสาวศันศนีย์ สิทธิจันทร์ และนางสาวเบญจวรรณ ปราบเภท
บทคัดย่อ
ในงานวิจัยเรื่องการคายน้ำาของพืชได้ศึกษาต้นชบาด้วยการกำหนดใบชบาแล้วใช้หนังยางผูกรวบปากถุงพลาสติกบริเวณโคนกิ่งให้แน่ทิ้งไว้ประมาณ  2 ชั่วโมงแล้วสังเกตุผลโดยการแบ่งเป็น 3 ช่วง(05.00-07.00น.) (10.00-12.00.) (15.00-17.00 น.)โดยจะสังเกตผลจากปริมาณการคายน้ำของใบชบาซึ่งจะมีไอน้ำเกาะบริเวณถุงพลาสติกว่าช่วงเวลาใดที่มีปริมาณอัตราการคายน้ำมากที่สุดโดยการคายน้ำของใบชบาในแต่ละช่วงเวลาก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำของพืช ดังนี้
 1.ถ้ามีความเข้มของแสงมากใบชบาจะมีการสังเคราะห์แสงบริเวณปากใบก็จะเปิดกว้างทำให้ใบชบาคายน้ำได้ดี
2. อุณหภูมิสูงใบชบาจะคายน้ำออกมามากเพื่อระบายความร้อนออกจากต้นชบา
 3. ความกดอากาศที่มีความกดดันต่ำความหนาแน่นของอากาศจะน้อยน้ำจึงระเหยออกจากต้นชบาได้ง่าย
4.ความชื้นของอากาศถ้าในบรรยากาศมีความชื้นต่ำพืชจะมีอัตราการคายน้ำสูง
5. ลมจะช่วยพัดพาไอน้ำให้เคลื่อนที่ทำให้พืชคายบน้ำได้ดียิ่งขึ้น
จากการทดลองจะเห็นได้ว่ามีหยดน้ำเกิดขึ้นในถุงพลาสติกที่หุ้มใบชบาและช่วงเวลา                (10.00 - 12.00 น.)ใบชบาจะมีปริมาณการคายน้ำได้มากที่สุดเนื่องจากเป็นไปตามปัจจัยที่กล่าวไว้เบื้องต้น

ผลงานกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย  การสำรวจลักษณะทางกายภาพและชีวภาพบริเวณสระบัวโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี
ผู้จัดทำ  นายวัฒนา พฤกษภักดีวงศ์ และนางสาวอลิสา จะรา
บทคัดย่อ
ระบบนิเวศเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม  เพราะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด มีการแลกเปลี่ยนสสาร แร่ธาตุ และพลังงานกับสิ่งแวดล้อม  โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร (Food chain) มีลำดับของการกินเป็นทอด ๆ ทำให้สสารและแร่ธาตุมีการหมุนเวียนไปใช้ในระบบจนเกิดเป็นวัฏจักร ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปตามลำดับขั้นเป็นช่วงๆในห่วงโซ่อาหารได้ การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศ ส่วนใหญ่จะจำแนกได้เป็นสององค์ประกอบใหญ่ ๆ คือ องค์ประกอบที่มีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต 
มีการสำรวจพื้นที่บริเวณสระบัว โดยสำรวจการวัดอุณหภูมิของอากาศ และในน้ำ การวัดความเข้มแสง  ความชื้น ความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณสระบัว และการอยู่อาศัยดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ปัจจัยการดำรงชีวิตต่างๆ
สระบัวจึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์เป็นที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิต จะมีทั้งผู้ผลิต (producer or autotrophic) ผู้บริโภค (consumer)  สระบัวจึงมีความอุดมสมบูรณ์ มีสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำ มีอุณหภูมิของอากาศในแต่ละวัน ประมาณไม่น้อยกว่า   26  C และไม่มากกว่า 34  C ส่วนอุณหภูมิในน้ำในแต่ละวัน ประมาณไม่น้อยกว่า   24  C และไม่มากกว่า     30  C ความเข้มแสงในแต่ละวัน ประมาณไม่น้อยกว่า  400 Lux  และไม่มากกว่า   800 Lux มีสิ่งมีชีวิตในน้ำ ทั้ง มี กุ้ง  หอย  ปู   ปลา  ตัวอ่อนของแมลง       แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสิ่งมีชีวิตบนบก ทั้งแมลงปอ อึ่งอ่าง กบ ตั๊กแตนไส้เดือน ผึ้ง          และผู้ย่อยสลายต่างๆ

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย   ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนต้นพิกุล
ผู้จัดทำ  นางสาวธมนวรรณ วารีศรี และนางสาวนนทนันต์ ยอดนวล
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนต้นพิกุล มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนต้นพิกุล แล้วนำสิ่งมีชีวิตที่พบมาศึกษาเกี่ยวกับสัณฐานวิทยา ลักษณะทั่วไปของสิ่งมีชีวิต ประโยชน์และโทษของสิ่งมีชีวิต พื้นที่ที่ทำการสำรวจคือบริเวณหน้าฐานพระพุทธรูป โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี โดยศึกษาใน 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า(07.00 น. – 10.00 น.) ช่วงเที่ยง(11.00 น.-14.00 น.) และช่วงเย็น(15.00 น.- 18.00น.) โดยการรวบรวมข้อมูลทางด้านกายภาพ คือ อุณหภมิ แสงสว่าง ความชื้นของ ดินและอากาศ ทางด้านชีวภาพ เน้นทำการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต จำพวก แมลง สัตว์ปีกโดยนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบตามหลักรูปวิธานของสัตว์ ได้แก่ อาณาจักร(Kingdom)  ไฟลัม หรือดิวิชั่น (Phylum or Division) คลาส (Class) ออร์เดอร์ (Order) แฟมิลี (Family) จีนัส (Genus) และสปีชีส์ (Species) ลักษณะทั่วไปและประโยชน์ของสัตว์ชนิดนั้นต่อระบบนิเวศที่สำรวจ
ผลการศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนต้นพิกุล ในพื้นที่ที่ทำการศึกษา พบสิ่งมีชีวิตจำนวน 10 ชนิดได้แก่ มดแดง (Oecophylla smaragdina F. ) มดดำ(Pheidole sp.)แมลงปอบ้าน(common skimmers ) แมงมุมบ้าน(Tegenaria domestica)   ปลวก(Termes sp.) นกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis )นกกระจิบ(orthotomus sutorius) หนอนบุ้ง(Eupterote tetacea ) เพลี้ยแป้ง(Pseudococcus sp.) และผีเสื้อใบรักขีดสั้น(Parantica aglea) โดยสิ่งมีชีวิตที่พบจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพ(PhylumArthropoda) จำนวน 8 ชนิดและไฟลัม (Phylum Chordata) จำนวน 2 ชนิด

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประมวลภาพการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ฟังคำบรรยายการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย
ตัวอย่างพืชที่นำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การสาธิตการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การสาธิตการถ่ายเนื้อเยื่อพืช
การถ่ายเนื้อเยื่อพืช
การตวงสารเพื่อทำอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การชั่งสารเพื่อเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
สาธิตการตวงสารเพื่อเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การกรอกสารที่ได้เก็บในขวด

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประมวลภาพกิจกรรมงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์

การแสดงผลงานนักเรียนชั้นม.4

การทำไข่เด้งดึ๋ง
เกมส์คณิตศาสตร์
ฐานฟิสิกส์

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์


        




          โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ เป็นโครงการในความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) เพื่อเป็นการขยายฐานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ โดย
         1.ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนพิเศษ
         2. นักเรียนได้รับการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการเพิ่มพิเศษ เช่น การเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ ศึกษาดูงาน/ทัศนศึกษา การได้รับการฝึกงานกับนักวิจัยในมหาวิทยาลัย หรือ ในหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน และได้รับการส่งเสริมการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งได้รับการส่งเสริม สนับสนุนให้ไปนำเสนอผลงานทางวิชาการในระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับประเทศ