วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย   การศึกษาโครงสร้างของแมลงปอเข็ม
ผู้จัดทำ  นางสาวณัฐธิดา ขุมขำ
บทคัดย่อ
                จากการศึกษาโครงสร้างภายนอกของแมลงปอพบว่า ลักษณะภายนอกของแมลงอื่นๆ และสัตว์ที่มีลำตัวและขาเป็นข้อปล้อง (Arthropods) มีผนังของร่างกายเป็นส่วนที่แข็งที่ช่วยพยุงร่างกายอยู่ภายนอก (Exoskeleton) โครงสร้างของร่างกายของแมลงปอ แบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว อก และท้อง มีขา 3 คู่ และมีปีก 3 คู่ ติดอยู่ที่อก โดยทุกส่วนเป็นโครงสร้างภายนอกของแมลงปอที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน และโครงสร้างภายในของแมลงปอ จากการศึกษาโครงสร้างภายในด้วยแว่นขยายพบว่า มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ภายในส่วนของท้องมีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาวบาง ส่วนของท้องอาจขยายพองออก หรือบางส่วนอาจจะแบน ปล้องท้องที่เห็นได้ชัดเจนมีจำนวน 10 ปล้อง ปล้องท้องปล้องแรกที่ติดกับอกมีขนาดสั้นมาก ปล้องที่ 2 ยาวกว่าเล็กน้อย ล้องที่ 3 – 7 เป็นปล้องที่ยาวที่สุด ปล้องที่ 8 – 9 ค่อนข้างสั้น ปล้องที่ 10 สั้นและมีขนาดเล็ก ส่วนบน cerci or superior appendages 1 คู่ และมีแพนหางส่วนล่าง (inferior appendages) อวัยวะในการผสมพันธุ์ของตัวเมีย (genital organs) จะอยู่ที่ด้านล่างของปล้องท้องปล้องที่ 8 และ 9 แมลงปอเข็มส่วนมากจะมีอวัยวะวางไข่ที่สมบูรณ์                                                               

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย   การสำรวจแพลงก์ตอนในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดา
ผู้จัดทำ  นางสาวเสาวลักษณ์ แก้วชัด และนายทศพงศ์ ธรรมจารุวัฒน์
บทคัดย่อ
                แพลงก์ตอนเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ จะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหาร ในการสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอนในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดาของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดา ตรวจวัดคุณภาพน้ำในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดาจากแพลงก์ตอนที่สำรวจได้ และฝึกทักษะการใช้กล้องจุลทรรศน์ในการหาแพลงก์ตอน
                ในการสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอนในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดามีวิธีการ คือ เก็บตัวอย่างน้ำจากสระโดยกำหนดจุดต่างๆ ในรอบสระ 5 จุด (A, B, C, D, E) จากนั้นนำมาเทใส่บีกเกอร์ ใช้หลอดหยด หยดน้ำแต่ละจุดบนสไลด์ นำไปส่องดูกล้องจุลทรรศน์ที่กำลังขยาย 10X และ 40X
                ในการสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอน พบว่ามีแพลงก์ตอนทั้งหมด 2 ดิวิชั่น คือ Chlorophyta และ Cyanophyta โดยทั้งหมดเป็นแพลงก์ตอนพืชมี 6 ชนิด คือ Botryococcus, Haematococus, Phytoplankton, Eudorina, Pseudoanbaena และ Ceratium แพลงก์ตอนที่พบมากที่สุด คือ Haematococus และพบว่าแหล่งน้ำดังกล่าวจัดอยู่ในระดับคุณภาพดี เนื่องจากแพลงก์ตอนที่อาศัยอยู่นั้น ส่วนใหญ่เป็นแพลงก์ตอนที่อยู่ในน้ำสะอาด ในการสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอนในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดาครั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้พบแพลงก์ตอนจำนวนน้อย เนื่องจากการเก็บตัวอย่างน้ำได้ไม่ทั่วทั้งสระ อีกทั้งแหล่งน้ำนี้ยังเป็นแหล่งน้ำที่ปิดไม่มีการถ่ายเทของน้ำ สิ่งมีชีวิตจึงเข้ามาอาศัยได้น้อย และมีปลานิลที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาตร์

ชื่อวิจัย   การทดสอบวิตามินซีในผักและผลไม้
ผู้จัดทำ  นางสาวกมลทิพย์ อินทคีรี และนางสาวสุดารัตน์ คงเพชร
บทคัดย่อ
การทดสอบการหาค่าวิตามินซีแบบง่าย ๆ ได้โดยการหยดสารละลายไอโอดีนลงในน้ำแป้งสุก จะได้สารผสมสีน้ำเงิน แล้วหยดน้ำผักและผลไม้ที่ต้องการทดสอบหาวิตามินซีลงไป ถ้าสามารถทำให้สารสีน้ำเงินที่ผสมกับน้ำแป้งสุกจางหายไปได้รวดเร็ว จนไม่มีสารละลายผสมสีน้ำเงินอยู่เลยแสดงว่ามีวิตามินซีในผักและผลไม้ที่นำมาทดสอบ
จากการศึกษาและทดสอบพบว่าในน้ำผักคะน้าใช้จำนวนหยดน้อยที่สุดแสดงว่ามีวิตามินซีมากที่สุดรองลงมาคือใบชะมวงและแตงกวา ส่วนการทดสอบวิตามินซีในน้ำผลไม้พบว่าในน้ำแตงโมใช้จำนวนหยดน้อยที่สุดแสดงว่ามีวิตามินซีมากที่สุด รองลงมาคือชมพู่ ส่วนกล้วยไม่พบวิตามินซี ในผักและผลไม้ที่ผู้วิจัยนำมาทดสอบนั้นพบว่ามีวิตามินซีอยู่สูงมากคือผักคะน้าส่วนผักและผลไม้ที่พบวิตามินซีในปริมาณน้อยเนื่องจากมีสารอาหารจำพวกอื่นอยู่มากทั้งนี้เป็นข้อมูลหรือทางเลือกในการบริโภคแก่ผู้บริโภค

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย   การวัดอัตราการคายน้ำในรอบหนึ่งวัน
ผู้จัดทำ  นางสาวศันศนีย์ สิทธิจันทร์ และนางสาวเบญจวรรณ ปราบเภท
บทคัดย่อ
ในงานวิจัยเรื่องการคายน้ำาของพืชได้ศึกษาต้นชบาด้วยการกำหนดใบชบาแล้วใช้หนังยางผูกรวบปากถุงพลาสติกบริเวณโคนกิ่งให้แน่ทิ้งไว้ประมาณ  2 ชั่วโมงแล้วสังเกตุผลโดยการแบ่งเป็น 3 ช่วง(05.00-07.00น.) (10.00-12.00.) (15.00-17.00 น.)โดยจะสังเกตผลจากปริมาณการคายน้ำของใบชบาซึ่งจะมีไอน้ำเกาะบริเวณถุงพลาสติกว่าช่วงเวลาใดที่มีปริมาณอัตราการคายน้ำมากที่สุดโดยการคายน้ำของใบชบาในแต่ละช่วงเวลาก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำของพืช ดังนี้
 1.ถ้ามีความเข้มของแสงมากใบชบาจะมีการสังเคราะห์แสงบริเวณปากใบก็จะเปิดกว้างทำให้ใบชบาคายน้ำได้ดี
2. อุณหภูมิสูงใบชบาจะคายน้ำออกมามากเพื่อระบายความร้อนออกจากต้นชบา
 3. ความกดอากาศที่มีความกดดันต่ำความหนาแน่นของอากาศจะน้อยน้ำจึงระเหยออกจากต้นชบาได้ง่าย
4.ความชื้นของอากาศถ้าในบรรยากาศมีความชื้นต่ำพืชจะมีอัตราการคายน้ำสูง
5. ลมจะช่วยพัดพาไอน้ำให้เคลื่อนที่ทำให้พืชคายบน้ำได้ดียิ่งขึ้น
จากการทดลองจะเห็นได้ว่ามีหยดน้ำเกิดขึ้นในถุงพลาสติกที่หุ้มใบชบาและช่วงเวลา                (10.00 - 12.00 น.)ใบชบาจะมีปริมาณการคายน้ำได้มากที่สุดเนื่องจากเป็นไปตามปัจจัยที่กล่าวไว้เบื้องต้น

ผลงานกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย  การสำรวจลักษณะทางกายภาพและชีวภาพบริเวณสระบัวโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี
ผู้จัดทำ  นายวัฒนา พฤกษภักดีวงศ์ และนางสาวอลิสา จะรา
บทคัดย่อ
ระบบนิเวศเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม  เพราะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด มีการแลกเปลี่ยนสสาร แร่ธาตุ และพลังงานกับสิ่งแวดล้อม  โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร (Food chain) มีลำดับของการกินเป็นทอด ๆ ทำให้สสารและแร่ธาตุมีการหมุนเวียนไปใช้ในระบบจนเกิดเป็นวัฏจักร ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปตามลำดับขั้นเป็นช่วงๆในห่วงโซ่อาหารได้ การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศ ส่วนใหญ่จะจำแนกได้เป็นสององค์ประกอบใหญ่ ๆ คือ องค์ประกอบที่มีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต 
มีการสำรวจพื้นที่บริเวณสระบัว โดยสำรวจการวัดอุณหภูมิของอากาศ และในน้ำ การวัดความเข้มแสง  ความชื้น ความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณสระบัว และการอยู่อาศัยดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ปัจจัยการดำรงชีวิตต่างๆ
สระบัวจึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์เป็นที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิต จะมีทั้งผู้ผลิต (producer or autotrophic) ผู้บริโภค (consumer)  สระบัวจึงมีความอุดมสมบูรณ์ มีสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำ มีอุณหภูมิของอากาศในแต่ละวัน ประมาณไม่น้อยกว่า   26  C และไม่มากกว่า 34  C ส่วนอุณหภูมิในน้ำในแต่ละวัน ประมาณไม่น้อยกว่า   24  C และไม่มากกว่า     30  C ความเข้มแสงในแต่ละวัน ประมาณไม่น้อยกว่า  400 Lux  และไม่มากกว่า   800 Lux มีสิ่งมีชีวิตในน้ำ ทั้ง มี กุ้ง  หอย  ปู   ปลา  ตัวอ่อนของแมลง       แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสิ่งมีชีวิตบนบก ทั้งแมลงปอ อึ่งอ่าง กบ ตั๊กแตนไส้เดือน ผึ้ง          และผู้ย่อยสลายต่างๆ

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย   ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนต้นพิกุล
ผู้จัดทำ  นางสาวธมนวรรณ วารีศรี และนางสาวนนทนันต์ ยอดนวล
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนต้นพิกุล มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนต้นพิกุล แล้วนำสิ่งมีชีวิตที่พบมาศึกษาเกี่ยวกับสัณฐานวิทยา ลักษณะทั่วไปของสิ่งมีชีวิต ประโยชน์และโทษของสิ่งมีชีวิต พื้นที่ที่ทำการสำรวจคือบริเวณหน้าฐานพระพุทธรูป โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี โดยศึกษาใน 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า(07.00 น. – 10.00 น.) ช่วงเที่ยง(11.00 น.-14.00 น.) และช่วงเย็น(15.00 น.- 18.00น.) โดยการรวบรวมข้อมูลทางด้านกายภาพ คือ อุณหภมิ แสงสว่าง ความชื้นของ ดินและอากาศ ทางด้านชีวภาพ เน้นทำการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต จำพวก แมลง สัตว์ปีกโดยนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบตามหลักรูปวิธานของสัตว์ ได้แก่ อาณาจักร(Kingdom)  ไฟลัม หรือดิวิชั่น (Phylum or Division) คลาส (Class) ออร์เดอร์ (Order) แฟมิลี (Family) จีนัส (Genus) และสปีชีส์ (Species) ลักษณะทั่วไปและประโยชน์ของสัตว์ชนิดนั้นต่อระบบนิเวศที่สำรวจ
ผลการศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนต้นพิกุล ในพื้นที่ที่ทำการศึกษา พบสิ่งมีชีวิตจำนวน 10 ชนิดได้แก่ มดแดง (Oecophylla smaragdina F. ) มดดำ(Pheidole sp.)แมลงปอบ้าน(common skimmers ) แมงมุมบ้าน(Tegenaria domestica)   ปลวก(Termes sp.) นกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis )นกกระจิบ(orthotomus sutorius) หนอนบุ้ง(Eupterote tetacea ) เพลี้ยแป้ง(Pseudococcus sp.) และผีเสื้อใบรักขีดสั้น(Parantica aglea) โดยสิ่งมีชีวิตที่พบจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพ(PhylumArthropoda) จำนวน 8 ชนิดและไฟลัม (Phylum Chordata) จำนวน 2 ชนิด