วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย   ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนต้นพิกุล
ผู้จัดทำ  นางสาวธมนวรรณ วารีศรี และนางสาวนนทนันต์ ยอดนวล
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนต้นพิกุล มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนต้นพิกุล แล้วนำสิ่งมีชีวิตที่พบมาศึกษาเกี่ยวกับสัณฐานวิทยา ลักษณะทั่วไปของสิ่งมีชีวิต ประโยชน์และโทษของสิ่งมีชีวิต พื้นที่ที่ทำการสำรวจคือบริเวณหน้าฐานพระพุทธรูป โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี โดยศึกษาใน 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า(07.00 น. – 10.00 น.) ช่วงเที่ยง(11.00 น.-14.00 น.) และช่วงเย็น(15.00 น.- 18.00น.) โดยการรวบรวมข้อมูลทางด้านกายภาพ คือ อุณหภมิ แสงสว่าง ความชื้นของ ดินและอากาศ ทางด้านชีวภาพ เน้นทำการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต จำพวก แมลง สัตว์ปีกโดยนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบตามหลักรูปวิธานของสัตว์ ได้แก่ อาณาจักร(Kingdom)  ไฟลัม หรือดิวิชั่น (Phylum or Division) คลาส (Class) ออร์เดอร์ (Order) แฟมิลี (Family) จีนัส (Genus) และสปีชีส์ (Species) ลักษณะทั่วไปและประโยชน์ของสัตว์ชนิดนั้นต่อระบบนิเวศที่สำรวจ
ผลการศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนต้นพิกุล ในพื้นที่ที่ทำการศึกษา พบสิ่งมีชีวิตจำนวน 10 ชนิดได้แก่ มดแดง (Oecophylla smaragdina F. ) มดดำ(Pheidole sp.)แมลงปอบ้าน(common skimmers ) แมงมุมบ้าน(Tegenaria domestica)   ปลวก(Termes sp.) นกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis )นกกระจิบ(orthotomus sutorius) หนอนบุ้ง(Eupterote tetacea ) เพลี้ยแป้ง(Pseudococcus sp.) และผีเสื้อใบรักขีดสั้น(Parantica aglea) โดยสิ่งมีชีวิตที่พบจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพ(PhylumArthropoda) จำนวน 8 ชนิดและไฟลัม (Phylum Chordata) จำนวน 2 ชนิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น